top of page

ACA  we " Keep Audit

ในการจัดทำบัญชีของกิจการจำเป็นต้องอาศัยเอกสารหลักฐานที่เชื่อถือได้เพื่อบันทึกรายการที่เกิดขึ้นจนกระทั่งประมวลผลเพื่อนำเสนองบการเงิน ซึ่งสามารถสรุปขั้นตอนการจัดทำรายงานทางการเงิน ได้ดังนี้

ขั้นตอนการปิดบัญชี

1. การวิเคราะห์รายการค้า (Transaction Analysis) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของวงจรบัญชี คือการวิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นในกิจการว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นส่งผลให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของของกิจการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

 

2. การบันทึกรายการลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) (Journalizing Original Entries) เมื่อเราวิเคราะห์รายการค้าได้แล้วว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นนั้นทำให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเปลี่ยนแปลงอย่างไรแล้ว หลังจากนั้นจึงนำผลการวิเคราะห์รายการค้ามาบันทึกลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน)

3. การผ่านรายการจากสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) ไปยังสมุดบัญชีขั้นปลาย (สมุดบัญชีแยกประเภท) (Posting) เป็นการนำรายการค้าที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันไปจำแนกแยกแยะบัญชีให้เป็นหมวดหมู่ในสมุดบัญชีแยกประเภทบัญชีต่าง ๆ

 

4. การปรับปรุงบัญชีในวันสิ้นงวด (Adjusting Entries) เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีของกิจการ หากมีรายการค้าใดที่ได้บันทึกและผ่านรายการแล้วยังไม่ถูกต้อง เราจะต้องมาทำการปรับปรุงรายการ โดยบันทึกรายการปรับปรุงลงในสมุดรายวันเหมือนรายการค้าที่เกิดขึ้นใหม่แล้วผ่านรายการปรับปรุงไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทเหมือนเดิม

5. การจัดทำงบการเงิน (Preparing Financial Statement) หลังจากปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องแล้ว ก็จะต้องนำยอดคงเหลือที่ถูกต้องของบัญชีต่าง ๆ มาจัดทำงบการเงิน ซึ่งได้แก่5.1 งบแสดงฐานะการเงิน

5.2 งบรายได้ค่าใช้จ่าย

5.3 งบกระแสเงินสด

5.4 งบแสดงการเปลี่ยนแลงส่วนของผู้ถือหุ้น

5.5 หมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

6. การปิดบัญชี (Closing Entries) หลังจากที่ปรับปรุงรายการ และจัดทำงบการเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องทำการปิดบัญชีต่าง ๆ ที่จะต้องปิดบัญชีในแต่งวดบัญชีในสมุดรายวัน และผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง สำหรับบัญชีที่ไม่ได้ปิด ก็จำทำการยกยอดบัญชีนั้นไปในงวดบัญชีใหม่ต่อไป

การนำเสนองบการเงิน

รับจดทะเบียนธุรกิจทุกชนิด ราคาถูก ในระยะเวลารวดเร็ว มีความรับผิดชอบ ยินดีให้คำปรึกษาเรื่องการเปิดบริษัทฟรี

จดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนหจก.

จดเครื่องหมายการค้า

จดทะเบียนเลิกบริษัท

จดทะเบียนพาณิชย์

ขอใบอนุญาตนำเที่ยว

จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

งบดุล

เป็นงบที่แสดงฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง องค์ประกอบของงบดุลประกอบด้วย สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้เป็นเจ้าของ ตามสมการทางบัญชี

สินทรัพย์ = หนี้สิน+ส่วนของเจ้าของสินทรัพย์

assets หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ซึ่งเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งคาดว่าจะให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต การจำแนกประเภทสินทรัพย์ โดยแบ่งเป็น สินทรัพย์หมุนเวียน และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

งวดบัญชี

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 เรื่อง “การนำเสนองบการเงิน” กำหนดว่า กิจการต้องนำเสนองบการเงินอย่างน้อยปีละครั้งยกเว้นในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของงบดุล ทำให้กิจการต้องนำเสนองบการเงินสั้นกว่า หรือยาวกว่า หนึ่งปี(กฎหมายแพ่งพาณิชย์ กฎหมายมหาชน และประมวลรัษฎากรยินยอมให้นำเสนองบการเงินที่มีรอบที่สั้นกว่า 1 ปีเท่านั้น คือ ปีแรกของการเริ่มดำเนินงาน และปีสุดท้ายที่ขอเลิกดำเนินงาน) มาตรฐานการบัญชีได้กำหนดให้กิจการเปิดผยข้อมูล

1. เหตุผลในการใช้รอบบัญชีที่สั้น หรือ ยาวกว่า 1 ปี

2. เปิดเผยให้ทราบว่าจำนวนเงินที่แสดงในงบการเงินอื่น (ยกเว้นงบดุล) ของปีปัจจุบันไม่สามารถเปรียบเทียบได้กับงบการเงินของรอบบัญชีก่อน

งบการเงิน financial statements เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ เช่นผู้ถือหุ้นควรถือเงินลงทุนต่อ หรือควรขาย หรือควรซื้อหุ้นเพิ่ม หรือเจ้าหนี้เงินกู้ จะใช้ในการพิจารณาว่าควรปล่อยกู้หรือไม่ นอกจากนั้นงบการเงินยังแสดงความสามารถของฝ่ายบริหาร ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ถือหุ้นให้บริหารส่วนประกอบของงบการเงิน ตามมาตรฐารการบัญชี ฉบับที่ 35 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ได้กำหนดว่างบการเงินที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วย

1. งบดุล balance sheet เป็นงบที่แสดงฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง องค์ประกอบที่สำคัญ คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน)

2. งบกำไรขาดทุน statement of income หรือ profit and loss statement เป็นงบที่แสาดงถึงผลการดำเนินงานของกิจการสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง ๆ องค์ประกอบที่สำคัญเกี่ยวกับกับการวัดผลการดำเนินงาน คือ บัญชีรายได้ และค่าใช้จ่าย

3.งบกระแสเงินสด statement of cash flows เป็นงบที่แสดงการไหลเข้าและไหลออกของกระแสเงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด ในระหว่างงวดบัญชีหนึ่ง ๆ ว่ากิจการได้ดำเนิน กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมการลงทุน และกิจกรรมการจัดหาเงินอย่างไร

4. งบแสดงเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ statement of changes in owner’s equity หรืองบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ comprehensive income statement เป็นงบที่แสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้เป็นเจ้าของในระหว่างงวดบัญชี

5. นโยบายการบัญชีและหมายเหตุประกอบ งบการเงิน accounting policies and notes to financial statement เป็นข้อมูลนโยบายบัญชีที่กิจการเลือกให้อย่างเหมาะ และข้อมูลที่เปิดเผยเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ใช้งบไม่เข้าใจผิดในสาระสำคัญของงบการเงิน

การจัดทำงบการเงิน จะต้องจัดทำงบการเงินโดยถูกต้องตามควรตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป หมายถึง กิจการจะต้องนำมาตรฐานการบัญชีและตีความตามมาตรฐานบัญชีทุกประเด็นมาปฏิบัติอย่างเหมาะสม พร้อมกับเปิดผยข้อมูลที่จำเป็นอย่างเพียงพอ การที่กิจการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี แต่เปิดเผยให้ทราบในหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรืออธิบายในลักษณะอื่น ก็ไม่ทำให้งบการเงินถูกต้องตามที่ควรนโยบายบัญชี ในการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้องตามที่ควรตามมาตรฐานการบัญชี ผู้บริหารจะต้องเลือกใช้นโยบายการบัญชี และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีวัตถุประสงค์ที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี และการตีความตามมาตรฐานบัญชีทุกประเด็น โดยผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้

1. เกี่ยวกับการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน

2. เชื่อถือได้โดยต้อง

2.1 แสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการอย่างเที่ยงธรรม

2.2 สะท้อนให้เห็นถึงเนื้อหาเชิงเศรษฐกิจมากกว่ารูปแบบทางกฎหมาย

3. มีความเป็นกลางไม่ลำเอียง

4. มีความระมัดระวัง

5. มีความครบถ้วนในข้อมูลที่มีนัยสำคัญ

ACA,.CO LTD บริการทุกอย่าง ด้านบัญชี รับทำบัญชี จดทะเบียนบริษัท ยื่นภาษีอากร สิ้นเดือน กลางเดือน สิ้นปี ปิดบัญชี ตรวจสอบบัญชี ทำประกันสังคม 

 

Tel : 084-426-9321

bottom of page